คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Week 2

19-11-2010
In class
Communicative competences
1.linguistic
2.sociolinguistics
3.discourse
4.strategic/ pragmatic

Ex.
1.พี่สาวคุณพูดภาษาอังกฤษได้ดี
Your sister can speak English well.

2.บางครั้งอุณหภูมิอาจจะสูงถึง 40 C ในเดือนเมษายน
The temperature can sometimes reach 40 c in April.

3.คุณเอารถฉันไปได้
You can take my car.

4.ช่วยส่งขวดเกลือให้ฉันหน่อย
Can you pass me the salt?

5.เขาวิ่งได้เร็วมาก
He can run very fast.

6.ตอนเขาเป็นเด็ก เขาวิ่งได้เร็วมาก
When he was young, he could run very fast.

7.วันนี้ฉันเจอเธอไม่ได้ แต่พรุ่งนี้อาจจะได้
I can’t see you today but I could see you tomorrow.

Out class
Modality
คือ ทุกความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสมองและระบบประสาทของมนุษย์ เกิดมาจากการทำงานผสมผสานกันของข้อมูลจากสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือข้อมูลจากระบบประสาทสัมผัสทั้งห้าอันประกอบไปด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายสัมผัส อีกส่วนหนึ่งก็คือบรรดาข้อมูลเก่าที่เราเคยเรียนรู้แล้วเก็บสะสมเอาไว้ในระบบความจำของเรา ซึ่งก็มีทั้งในส่วนที่เป็นจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกเรื่องจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกนั้นในที่นี้จะของดเอาไว้ก่อน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมาหลายรอบแล้ว โดยในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะกลไกการรับรู้ของระบบประสาทหรือที่นัก NLP เรียกกันว่า Modality
คำว่า Modality หมายถึงรูปแบบหรือโครงสร้างหลักที่มนุษย์ใช้ในการรับรู้ข้อมูล โดยจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนด้วยกัน คือ ตาดู (Visual) หูฟัง (Auditory) จมูกดมกลิ่น (Olfactory) ลิ้นชิมรส (Gustatory) และผิวกายสัมผัสความรู้สึก (Kinesthetic) โดยทั่วไปนัก NLP จะเขียนย่อๆ ออกมาเป็น V A O G K มาถึงตรงนี้นักศึกษาเรื่องจิตสายพุทธอาจจะนึกแย้งว่ามันขาดไปอันหนึ่ง ซึ่งก็คือส่วนที่เป็น “ใจ” นึกคิด ซึ่งตรงส่วนของใจนี้ใน NLP ได้นำเอาส่วนที่เป็นใจไปแยกออกเป็น Modality (V A O G K) อีกชุดหนึ่ง เรียกว่าระบบ Modality ภายใน (Internal) คือการจินตนาภาพ การจินตนาเสียง การจินตนาการถึงกลิ่น การจินตนาการถึงรสชาติ และการจินตนาการถึงความรู้สึก และมักจะเขียนออกมาด้วยตัวย่อ Vi Ai Oi Gi Ki (ตัวอักษร i หมายถึง Internal หรือภายใน) ส่วน Modality ชุดแรกที่เป็นการสัมผัสจากภายนอกเข้ามานั้นจะเขียนออกมาเป็น Ve Ae Oe Ge Ke (ตัวอักษร e หมายถึง External หรือภายนอก) เมื่อจะประมวลความรู้สึกหรือความต้องการออกมาซักอย่างหนึ่ง คนเราในแต่ละคนมีรูปแบบของการจัดเรียง Modality เพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน รูปแบบการเรียงตัวของ Modality ในแต่ละคนจะเรียกว่า Strategy ถึงแม้ว่าจะเป็นคนๆ เดียวกัน ความรู้สึกที่เป็นบวกก็มี Strategy แบบหนึ่ง ส่วนความรู้สึกที่เป็นลบก็จะมี Strategy อีกแบบหนึ่ง เช่นเมื่อให้ละลึกไปถึงเหตุการณ์ที่เป็นความสำเร็จในอดีตเพื่อเรียกเอาสภาพอารมณ์นั้นกลับคืนมา แล้วให้พูดหรือเขียนบรรยายถึงซักเรื่องหนึ่งขึ้นมา “เมื่อปลายปีที่แล้วผมไปแข่งมอเตอร์ไซค์ระดับท้องถิ่นรายการหนึ่ง วันนั้นท้องฟ้าปลอดโปร่ง อากาศก็สดชื่นมาก มองเห็นตัวเองบนมอเตอร์ไซค์คันเก่งพร้อมกับได้ยินเสียงกระหึ่มจากปลายท่อไอเสียของมัน ในที่สุดผมพุ่งทะยานออกไปข้างหน้า แซงคนอื่นขึ้นไปเรื่อยๆ สายลมผ่านตัวไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผมได้ยินเสียงของลมที่ผ่านหูผมไปอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดธงตาหมากรุกก็โบกอยู่ข้างหน้า แล้วผมเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก” จากตัวอย่างนี้ เมื่อเรานำเอา Strategy ชุดนี้ออกมาเขียนเป็นแผนผัง เราก็จะได้แผนผังดังนี้
+ วันนั้นท้องฟ้าปลอดโปร่ง (Vi มองเห็นจากในใจ)
+ อากาศก็สดชื่น (Ki มีความรู้สึกในใจ)
+ มองเห็นตัวเองบนมอเตอร์ไซค์ (Vi มองเห็นจากในใจ)
+ ได้ยินเสียงกระหึ่ม (Ai ได้ยินในใจ)
+ ผมพุ่งทะยานออกไปข้างหน้า (Vi, Ki มองเห็นจากในใจและมีความรู้สึกในใจ)
+ แซงคนอื่นขึ้นไปเรื่อยๆ (Vi มองเห็นจากในใจ)
+ สายลมผ่านตัวไปอย่างรวดเร็ว (Ki มีความรู้สึกในใจ)
+ ได้ยินเสียงของลม (Ai ได้ยินในใจ)
+ ธงตาหมากรุกก็โบกอยู่ข้างหน้า (Vi มองเห็นจากในใจ)
เมื่อเอามาเขียนเป็นสูตรตามประสานัก NLP ความรู้สึกสำเร็จที่ได้มาจากประสบการณ์แข่งรถในอดีตนี้
จะออกมาเป็น Vi Ki Vi Ai Vi Ki Vi Ki Ai Vi สูตรการเรียงตัวของการทำงานภายในระบบประสาท หรือสูตร Strategy นัก NLP สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่นใช้ในการแบ่งความรู้สึกออกเป็นส่วนๆ โดยแยกว่าส่วนใดทำงานด้วย Modality ตัวใดบ้าง ก่อนที่จะเริ่มปรับแต่งในระดับของ Sub-Modality เพื่อทำให้ความรู้สึกในแต่ละส่วนเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่เราต้องการ เมื่อเราต้องกลับไปนึกถึงภาพเหตุการณ์นี้อีกครั้ง (เช่นใช้ปรับแต่งความรู้สึกในอดีตก่อนนำเอาความรู้สึกนั้นแพ็คเป็น Anchoring เก็บเอาไว้ในจิตใต้สำนึก) นอกจากนี้สูตร Strategy ยังช่วยให้นักสะกดจิตสามารถวิเคราะห์และประเมินได้ว่าควรจะใช้ถ้อยคำในลักษณะใดจึงจะสอดคล้องกับความเคยชินของระบบประสาทของผู้รักการสะกดจิต ซึ่งมันจะเป็นการช่วยให้การสะกดจิตนั้นบรรลุผลได้รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่นจากตัวอย่างข้างต้นนั้น เราพบว่าระบบประสาทของเขานั้น ภาพในใจ (Vi) และความรู้สึกในใจ (Ki) นั้นมักจะมาคู่กันในขณะที่การฟังเสียงในใจ (Ai) นั้นมีบ้างเป็นระยะๆ ดังนั้นการใช้ถ้อยคำ ในการสะกดจิตชักจูงให้คนๆ นี้เกิดสภาพความรู้สึกที่เป็นบวกนั้น ควรมีการใช้สำที่ชักจูงให้เห็นภาพและความรู้สึกผสมผสานควบคู่กันไป ในขณะที่เสียงนั้นก็ควรมีแต่ให้เป็นส่วนประกอบที่จะเข้ามาเสริมเป็นระยะๆ เท่านั้น

แปล
1.เวลาตัดสินอะไร คนเราอาจจะถูกหรือผิดก็ได้
When people judge what might be right or wrong time.

2.เขาใช้ตะเกียบไม่เป็น
He does not use chopsticks.

3.คุณอยู่ที่นี่นานแค่ไหนก็ได้ เท่าที่คุณอยากอยู่
You are here as the long time as you want to be.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น