คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Week 14

11-2-2011
Adverb clause
Adverb clause (วิเศษณานุประโยค) คือ ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยาหรือ คำวิเศษณ์หรืออาจอธิบายได้ว่า Adverb clause เป็นประโยคย่อมที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน ชนิด subordinate conjunction (เป็นคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยเข้ากับประโยคหลัก ส่วนคำสันธานที่ใช้ในประโยคความรวม เรียกว่า coordinating conjunction)
คำสันธานชนิด subordinate conjunction ทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น
๑. บอกเวลา ได้แก่ before, after, when, while,..
๒. บอกลักษณะ ได้แก่ as if, as though,
๓. บอกการเปรียบเทียบ ได้แก่ asas
๔. บอกวัตถุประสงค์ ได้แก่ so that, in order that,..
๕. บอกสถานที่ ได้แก่ where, wherever,.
๖. บอกความขัดแย้ง ได้แก่ though, even if,.
๗. บอกเงื่อนไข ได้แก่ If, provided, unless,.
ตัวอย่างเช่น
If it rains we will stay indoors.
I will go when I have finished my homework.
I ate as fast as I could.
ประโยค complex sentence ถ้านำมาใช้อธิบายประโยคความซ้อนในภาษาไทย นักเรียนอาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า การที่จะอธิบายจากภาษาไทยโดยตรง นี่หมายถึงว่านักเรียนควรจะมีความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร
จากที่อธิบายเปรียบเทียบมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไวยากรณ์ไทยกับไวยากรณ์อังกฤษ
เครื่องหมายวรรคตอน
เป็นสิ่งสำคัญในการแปลอังกฤษเป็นไทย เพราะเป็นเครื่องนำไปสู่ความหมาย การไม่สังเกตเครื่องหมายวรรคตอนหรือการตีความเครื่องหมายวรรคตอนผิดอาจทำให้การแปลผิดพลาดได้
ข้อสังเกตในการแปลเมื่อพบเครื่องหมายวรรคตอน
1. period หรือ Full Stop ( . ) ใช้เมื่อจบประโยคหรือจบความคิดหนึ่ง ๆ เช่น
- Eleven o clock. Half past eleven. Twelve o clock. Our daughter has not come back yet.
ห้าทุ่มก็แล้ว ห้าทุ่มครึ่งก็แล้ว และสองยามก็แล้ว ลูกสาวของเรายังไม่กลับมาเลย
2. Colon ( : ) ใช้เพื่อแสดงว่าข้อความที่อยู่ข้างหลังเครื่องหมาย colon เป็นข้อความที่อธิบายข้อความที่อยู่ข้างหน้า เวลาแปลอาจใช้คำว่าเพราะ หรือ นั่นคือ แทน colon เช่น
- We have had to abandon our holiday plans : the places didn t work out.
เราต้องยกเลิกแผนการณ์ท่องเที่ยววันหยุด เพราะเราตกลงเรื่องสถานที่กันไม่ได้
- On the beach she saw a perfect picture : an old man carrying the small grandson on his shoulder, smiling.
เธอมองเห็นภาพประทับใจที่ชายหาด นั่นคือชายชราคนหนึ่งกำลังยิ้มละไมขณะกำลังแบกหลานชายตัวเล็ก ๆ บนบ่า
3. Comma ( , ) ใช้เพื่อแยกคำหรือวลีในเรื่องเดียวกัน เมื่อเขียนติดต่อกันไปตามลำดับ เวลาแปลเป็นไทยไม่ต้องใส่ comma และ comma ไม่มีความหมายแต่ถ้า comma ใช้แยกข้อความที่แทรกเข้ามาเพื่อเป็นการอธิบายหรือขยาย noun
ข้างหน้า เวลาแปลอาจใช้คำว่า ซึ่งเป็น แทนเครื่องหมาย comma เช่น
- Mr. Higgins, our teacher, had a serious accident yesterday.
มิสเตอร์ฮิกกินส์ซึ่งเป็นอาจารย์ของเราประสบอุบัติเหตุร้ายแรง
การใช้หรือไม่ใช้ comma อาจมีผลต่อการแปล เช่น
- Jenny walked away from Tim believing that she was worng.
เจนนี่เดินจากทิมผู้ซึ่งเชื่อว่าเจนนี่เป็นคนผิด
- Jenny walked away from Tim, believing that she was wrong.
เจนนี่เดินจากทิมด้วยความเชื่อว่าตนเองเป็นคนผิด
- My boss doesn t like Harry James and me.
เจ้านายของผมไม่ชอบผมและแฮรี่ เจมส์ ( 2 คน )
- My boss doesn t like Harry, James and me.
เจ้านายของผมไม่ชอบทั้งผมและแฮรี่กับเจมส์ด้วย ( 3 คน )
4. Dash ( - ) ใช้แยกส่วนของข้อความจากส่วนอื่น ๆ เพื่อเป็นการอธิบายหรือเน้นเวลาแปลอาจเพิ่มคำว่า ได้แก่ แทน เช่น
- His wife was left with everything that Peter had ever owned his house , his car , his money and everything of his possessions.
ปีเตอร์ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้ให้ภรรยาของเขา ได้แก่ บ้าน รถ เงิน และทุก ๆ อย่างที่เป็นของเขา
5. Semicolon ( ; ) ใช้เพื่อแยกข้อความที่มี Commas คั่นอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยแยกความคิดในข้อความที่แปลได้ เช่น
- The results of the vote in the United Nations were the following : nine nations voted for the resolution ; two nations , Canada and Mexico, voted against it ; and three nations abstaind from voting.
ผลของการลงคะแนนเสียงในสหประชาชาติมีดังต่อไปนี้เก้าประเทศมีมติเห็นด้วย อีก 2 ประเทศคือ คานาดา และเม็กซิโกคัดค้าน และอีกสามประเทศงดออกเสียงส่วนการใช้ semicolon อย่างอื่นไม่สู้มีปัญหาในการแปล


Adjective Clause.
This is the house that jact built.
= principal clause(main) = adjective clause
that jact built เป็น dependent clause ชนิด adjective clause เพราะทำหน้าที่ adjective ขยายคำนามใน main clause ซึ่งอยู่ติดกันนั่นคือ the house Adjective clause จะขึ้นต้นด้วย "relative" เช่น
who, whom, whose, which, that, where etc. ทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง clause
Who 1. แทนคน
2. Subject
เชื่อมประโยค
I met a boy. That boy knows you.
1. คน เมื่อเปลี่ยนเป็น adj. clause จะใช้ who แทน that boy
2. Subject
สรุปโครงสร้าง who + verb
Whom 1. แทนคน
2. object
เชื่อมประโยค
1. I met the boy. You know him. (1. คน 2. object ของ verb เมื่อเปลี่ยนเป็น adj. clause จะใช้ whom แทน him)
2. That girl is diligent. I went to speak to her. (Object ของ preposition "to"จะใช้ whom แทน her)
สรุปโครงสร้าง Whom + subject + verb
Whom + subject + verb + ----- + preposition
หมายเหตุ
1. สามารถ "whom" ได้
2. สามารถย้าย "preposition" ไว้หน้า relative ได้
I met the boy you know.
That girl I want to speak to is diligent.
That girl to whom I want to speak is diligent.
Whose 1. แสดงความเป็นเจ้าของ
2. เป็นทั้ง Subject และ Object
เชื่อมประโยค
1. The girl comes from Ubot. Her hair is dark and long.
1. แสดงความเป็นเจ้าของว่าเป็นของ "ผม"ของผู้หญิง
2. Her hair เป็น subject
เมื่อเปลี่ยนเป็น adj. clause จะใช้ whose แทน her
The girl whose hair is dark and long comes from Ubol.
สรุปโครงสร้าง Whose + noun + verb
2. The man is handsome. We stayed at his house.
1. แสดงความเป็นเจ้าของว่าเป็น "บ้าน" ของผู้ชาย
2. his house เป็น Object
The man whose house we stayed at is handsome.
สรุปโครงสร้าง Whose + noun + Subject + verb
Which 1. แทนสัตว์ และสิ่งของ
2. เป็นทั้ง Subject และ Object
เชื่อมประโยค
1. The dog is named Dick. It is barking at the cat.
1. สัตว์
2. Subject
เมื่อเปลี่ยนเป็น adj. clause จะใช้ which แทน it
The dog which is barking at the cat is named Dick.
สรุปโครงสร้าง Which + Subject + Verb
Which + Subject + Verb + .... + preposition
หมายเหตุ
1. สามารถละ "which" ซึ่งเป็น object ได้
2. สามารถย้าย "preposition" ไว้หน้า relative ได้
The book I left on the table is very interesting.
The palace the king lives in is very large.
The palace in which the king lives is very large.
that 1. แทนคน สัตว์ สิ่งของ
2. เป็นทั้ง Subject และ Object
สรุปใช้แทน who, whom และ which


Phrase
เราแบ่งประเภทของ Phrase แต่ละชนิดตามคำหลัก (Head)ของมัน หรือ หน้าที่ที่มันทำอยู่ในประโยค
e.g. The plumber’s bill should have been paid last week. Head = paid ดังนั้นเป็น Verb phrase
โดยเราสามารถแบ่ง Phrase ออกเป็นประเภทตามหน้าที่ ที่คำหลักนั้นอยู่ในประโยคดังนี้
1. Prepositional phrase มีคำ Prepositionเป็นคำหลักของPhrase (Prep อยู่หน้าPhrase)
e.g. I called her on the phone. ฉันโทรหาหล่อนทางโทรศัพท์ [on the phone = Prep phrase]
2. Adjective phrase มีคำAdjectiveเป็นคำหลักของPhrase นอกจากนี้ยังหมายรวมถึง Phraseอื่นๆที่ทำหน้าที่เสมือน Adjอีกด้วย
e.g. She’s absolutely impervious to criticism. หล่อนไม่ครั่นคร้ามต่อคำวิพากษวิจารณ์ [Adj phrase]
That food is good to eat. อาหารนั้นมีประโยชน์ที่จะรับประทาน [Adj phrase]
John is a man with a kind nature. จอห์นเป็นชายที่มีนิสัยโอบอ้อมอารี [Adj phrase]
3. Adverb phrase คือphraseใดๆ ที่ทำหน้าที่เป็น Adverbในประโยค
e.g. The computer was devised specifically for use by those physicists. [Adv phrase]
John ran with great speed. [with great speed = quickly] [Adv phrase]

He fell to the ground. = down ตกลงที่ไหน [Adv phrase]
4. Noun phrase คือกลุ่มคำใดๆที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม Nounในประโยค
e.g. Bali’s spectacular beaches, volcanoes, lakes, temples, and terraced rice fileds have made it one of the most visited places on earth.
[ถ้าเราตัดตัวที่ขีดเส้นใต้ออกประโยคก็จะขาด Noun]
5. Verb phrase คือphraseที่มี verbเป็นคำหลัก
e.g. The box must have been opened. [Verb phrase]
อย่าจำสับสนกับ Phrasal verb ที่เป็นกลุ่มคำพิเศษที่ประกอบด้วยVerbและ Particles (อาจเป็นAdverbหรือPreposition)ซึ่งอาจมีความหมายที่แตกต่างจาก Verbหลักไปเลย

e.g. We didn’t bargain for what happened. เราไม่ได้คิดสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าเลย
[bargain ต่อรอง for = Phr V = expect คิดเอาไว้ก่อน]
6. Participle/Participial phrase กลุ่มคำที่มีParticipleเป็นคำหลักใช้ขยายความหมายเสมือน Adjective
e.g. The villagers lived in a house built of stone. [Past Part = ถูกสร้างจากหิน]
Being tired, we want to go home. [Present Part = รู้สึกเหนื่อย]
Walking along the street, we met John. [Present Part = ขณะกำลังเดินอยู่ที่ถนน]
7. Absolute phrase คือphraseผสมระหว่างNoun/Pronounกับ Participleโดยมีความหมายที่ไม่ได้เกี่ยวกับประโยคที่มันอยู่เลย
e.g. The students marching along, the people stood on both sides of the road.
นักเรียนเหล่านั้นกำลังเดินแถวตามๆกันมา ผู้คนเหล่านั้นได้ยืนอยู่บนสองฝากถนนนั้น
[นักเรียนเดิน ก็เดินไป ผู้คนยืน ก็ยืนไป ไม่ได้ขยายซึ่งกันและกัน]
8. Infinitive phrase กลุ่มคำที่มี Infinitive Toนำหน้า
e.g. John is the first man to walk in space. จอห์นเป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ [To infinitive =ทำหน้าที่ขยาย man]
9. Gerund phrase กลุ่มคำที่ทำหน้าที่ของ Gerund
e.g. Her beautiful singing charmed us. [Gerund phrase]
I hate having to clean the room. [Gerund phrase]





2 ความคิดเห็น: